หลักการและเหตุผล
เครื่องมือในการบริหารระบบคุณภาพที่ใช้ในการปรับปรุงงานระดับล่างหรือกิจกรรมระดับล่าง(Bottom
up Activities)โดยใช้กระบวนการวงจร PDCAหรือ
วงจร Demingอย่างเต็มที่อันหนึ่งได้แก่ QCC (Quality
Control Circle)และKAIZENที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสายพันธุ์ญี่ปุ่น ที่มีการใช้มากจนเป็นเรื่องปกติ
หรือแม้แต่ในอุตสาหกรรมสายพันธุ์ไทยก็ยังมีการนำมาใช้เช่นเดียวกัน จนอาจพูดได้ว่า
การส่งเสริมการแก้ไขและปรับปรุงคุณภาพโดยใช้กิจกรรมระดับล่างนั้นต้องใช้ QCC
Techniqueเป็นส่วนใหญ่
แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับพบว่ามีส่วนน้อยที่ประสบกับความสำเร็จอย่างแท้จริง
โดยที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล
เนื่องมาจากการขาดความรู้ในแนวคิดหรือหลักการที่ชัดเจน
ตลอดจนการขาดทักษะที่จะปรับปรุงกระบวนการดังกล่าวให้เกิดสัมฤทธิ์ผล
หลักสูตรนี้จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้เข้าใจหลักการ,แนวคิด และวิธีการทำแก้ปัญหา หรือปรับปรุงคุณภาพในหน้างาน อย่างแท้จริง
ตลอดจนสามารถนำแนวคิดและวิธีปฏิบัติดังกล่าวไปใช้ในงานที่รับผิดชอบได้เป็นอย่างดี
โดยใช้กรณีที่เกิดขึ้นจริงในหน่วยงานของแต่ละหน่วยมาเป็นข้อมูลการฝึกอบรม
ไม่ว่าจะเป็นงานในสายการผลิตหรือสายบริการ และยังสามารถถ่ายทอดต่อไปยังบุคคลอื่นๆ
อย่างง่ายดาย
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1)
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการเทคนิควิธีการ
และขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมQCCอย่างถูกต้อง
2)
ฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะในการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรม QCC
3)
ปรับปรุงคุณภาพงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4)
เรียนรู้วิธีการเขียนและวิเคราะห์ปัญหา QC Story
5)
เรียนรู้การแก้ปัญหาและป้องกันปัญหาCorrective &
Preventive Action
6) เพื่อให้ทราบแนวคิด
ความสำคัญของการเสนอแนะปรับปรุงงานด้วยKAIZEN
7) เพื่อทราบประโยชน์ของKAIZENและการลดต้นทุนที่ได้ผล
8) เพื่อทราบวิธีการเขียน
การประเมิน และการบริหารKAIZENให้ประสบผลสำเร็จ
ประเด็นสำคัญ
–
แนวคิดและความสำคัญของคุณภาพกับเพิ่มผลผลิต (Productivity)
–
กระบวนการแก้ปัญหาของเสียอย่างเป็นระบบ
และเครื่องมือและเทคนิคในการแก้ปัญหา
–
การวิเคราะห์หาสาเหตุโดยเทคนิคWhy – Why Analysis
–
การวิเคราะห์กระบวนการ (การค้นหาปัญหาโดย 5 G )
–
การใช้แผนภูมิก้างปลา(C&E Diagram)เพื่อช่วยหาสาเหตุแบบรากเหง้า
–
การกำหนดแนวทางปรับปรุงที่กำจัด สาเหตุความผิดพลาด
–
หลักการและความสำคัญของการเสนอแนะปรับปรุงงานด้วย KAIZEN
–
ทำKAIZEN แล้วได้ประโยชน์อะไร
–
ขั้นตอนการคิดเสนอแนะปรับปรุงงาน 6 ขั้นตอน
และฝึกปฏิบัติการเขียนข้อเสนอแนะปรับปรุงงาน พร้อมตัวอย่างข้อเสนอแนะปรับปรุงงาน
–
การบริหารข้อเสนอแนะปรับปรุงงานด้วยKAIZEN
–
การระดมสมอง (BRAIN STORMING )
–
ตัวอย่างแบบฝึกหัด
–
ถาม– ตอบ ข้อซักถาม
–
กรณีศึกษา / ตัวอย่างการแก้ปัญหา