Six Sigma คือ
แนวทางการพัฒนาองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นเครื่องมือพื้นฐานทางสถิติทางการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่มีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติอย่างชัดเจน
เพื่อมุ่งเน้นการลดความผันแปรของกระบวนการด้วยเป้าหมายที่ท้าทาย คือ 3.4
Sigma จากการใช้เครื่องมือตั้งแต่ Define – Measure –
Analyze – Improve – Control (DMAIC) อีกทั้งยังสร้างความท้าทายของบุคลากรทุกตำแหน่งและทุกหน่วยงานในองค์กรที่ต้องเร่งพัฒนาตนเองเพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขันของตนให้สูงขึ้น
สร้างความแตกต่างทางคุณภาพจากคู่แข่ง ซึ่งนวัตกรรมของการบริหารงานเช่นนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยนำพาความสำเร็จและต่อยอดก้าวสู่องค์กรแบบ
Lean Six Sigma อย่างเป็นระบบต่อไป
ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงมีการพัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าอบรมต้องมีทั้งความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและทักษะในการแก้ไขปัญหา
อย่างเป็นระบบ มาปรับใช้ในการบริหารงานที่ตนเองดูแลรับผิดชอบในระดับต่างๆ
ไปปรับปรุง,เปลี่ยนแปลงแก้ไขกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
ถึงแม้จะเป็นหลักสูตรขั้นแรกแต่ก็บรรจุเนื้อหาที่ครบถ้วนในเรื่องของ Six
Sigma และเน้นให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำเอาไปใช้ในทางปฏิบัติได้จริงทั้งจากการอบรมภาค
ทฤษฏี ภาคปฏิบัติ กรณีศึกษาและทำแบบทดสอบ
จะเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนาสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของกระบวนการทางด้านธุรกิจได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์ / ประโยชน์ที่จะได้รับ
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมในระดับปฏิบัติการมีความเข้าใจในหลักการ
และแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับSix Sigmaเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ปรับปรุงพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้และเทคนิคต่างๆ
ไปประยุกต์ใช้Six Sigmaได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจกลยุทธ์และขั้นตอนการดำเนินการSix
Sigmaเพื่อใช้วางแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าอบรมมองเห็นโครงสร้างและประโยชน์ในการบริหารงานด้วยSix
Sigmaอย่างเป็นระบบมากขึ้น
หัวข้อการอบรม / สัมมนา
บทบาทและความสำคัญของการบริหารจัดการองค์กรในโลกแห่งการแข่งขัน
4.0
แนวคิดพื้นฐานและเป้าหมายสำคัญที่สุดของการบริหารจัดการองค์กรและการผลิต
ภาพรวมและแก่นสำคัญของการผลิตของการบริหารงานด้วย
Six
Sigma
ความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวกับการบริหารงานด้วยSix
Sigmaคืออะไร ?
Six Sigmaคืออะไร
แนวคิดพื้นฐานของ Six
Sigma
แนวทาง 5 ขั้นตอนของการดำเนินการ (DMAIC)
D – Define :การค้นหาปัญหาและกำหนดเป้าหมาย
M – Measure :การเก็บข้อมูลให้ตรงวัตถุประสงค์
A – Analyze :การวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผล
I – Improve :การกำหนดมาตรการและการดำเนินการปรับปรุง
C – Control :การควบคุมให้ยั่งยืน
กลยุทธ์และเครื่องมือที่สำคัญของSix
Sigma
การปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่องของSix
Sigmaได้อย่างไร ?
Defect rate ?
parts per million (ppm) ?
Defect Per Million Opportunity (DPMO) ?
Six Sigma Quality Level ?
โครงสร้างและบทบาทหน้าที่รับผิดชอบของSix
Sigma
ประโยชน์ในการนำSix
Sigmaมาใช้งานเชิงปฏิบัติให้ได้ผลในองค์การ
Six Sigma
Vs. Lean manufacturing
กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ (Best
Practices)
สรุปการเรียนรู้และถามตอบ